THEWAYNEWS > Travel > In bound > ตามรอยอนันดา มายกตะวัน ที่ปากประ เที่ยวเมืองรอง @ พัทลุง

                   ตามรอยอนันดา มายกตะวัน ที่ปากประ เที่ยวเมืองรอง @ พัทลุง

PAN_3385-4S

              เรื่อง / ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา 

PAN_2812-S

        ราวพุทธศตวรรษที่ 8 ศาสนาพราหมณ์จากประเทศอินเดีย เริ่มเขามาเผยแผ่ทางภาคใต้ของประเทศไทยรวมถึงจังหวัดพัทลุงด้วย ต่อมาในสมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 – 14 พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานก็เริ่มเข้ามา มีหลักฐานค้นพบ พระพิมพ์ดินจำนวนมาก ที่บริเวณถ้ำคูหาสวรรค์ และถ้ำเขาอกทะลุ กรุงศรีอยุธยาเข้ามาปกครองเมืองพัทลุง ในรัชของสมัยพระบรมไตรโลกนาถ และก็มีส่วนร่วมรบในสงครามเก้าทัพตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย พัทลุงจึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยด้วย

PAN_4515-S

       นางสาวลดาวัลย์ ช่วยชาติ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานครศรีธรรมราช กล่าวว่า “เมืองพัทลุงมีแหล่งท่องเที่ยวที่สดใหม่ ศิลปะวัฒนธรรม ไร้การปรุงแต่ง ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในใจของนักท่องเที่ยวอีกมาก เราอยากให้มาสัมผัสวิถีประเพณีของคนพัทลุง ไม่ว่าจะเป็นทะเลน้อยทะเลบัวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นทะเลที่มีควายน้ำแห่งเดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนกน้ำอีกร้อยกว่าชนิด โดยเฉพาะในช่วงนี้ทะเลน้อยมีสิ่งอัศจรรย์แปลกใหม่ขึ้นมา ก็คือสาหร่ายข้าวเหนียวซึ่งมีการออกดอกบานสะพรั่งในทะเลน้อย มากกว่าทุกๆปีที่ผ่านมาก

PAN_3979-S

        จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดที่ผลิตข้าวสังข์หยดได้มากที่สุดในประเทศ ศูนย์การเรียนรู้นาโปแก เป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องข้าวพันธ์ต่างๆในพัทลุง เรื่องการทำนาแบบโบราณด้วยควาย ใช้ภูมิปัญญาของคนปู่ย่ายตายายที่นี่ นอกจากนี้ยังจะได้เรียนรู้เรื่องอาหารการกิน ไม่ว่าจะเป็นอาหารถิ่นห้ามพลาด ปลาลูกเบร่ ปลาเนื้ออ่อน ส้มตำไหลบัว และก็มาศึกษาสัมผัสเรื่องการรักษาสุขภาพ อย่างเช่นการนวดรักษาแบบโบราณ ใช้คนนวด 10 คน ขึ้นไปต่อผู้รักษา 1 คน ซึ่งยังมีการอนุรักษ์สืบทอดให้เห็น สิ่งเหล่านี้เรายังอยากอนุรักษ์รักษาไว้ ให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้และสานต่อไป สุดท้ายนักท่องเที่ยวจะได้ช้อป ผลิตภัณฑ์จักสานจากกระจูด ที่วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูด วรรณี และที่หลาดใต้โหนด ซึ่งเป็นสินค้าโอท็อปยอดนิยมของจังหวัดพัทลุงค่ะ” 

PAN_4577-S

                ความร่มรื่น พื้นที่สีเขียว สวนไผ่ขัวญใจ

PAN_4599-S

PAN_4587-S

PAN_4583-S

      พี่ขัวญใจ เจ้าของสวนไผ่ขัวญใจเล่าให้ฟังว่า ปลูกไผ่กอแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 คือไผ่ตงลืมแล้ง ซึ่งปลูกทางภาคใต้ได้ผลดีปีเดียวได้ไผ่ 15 ลำ จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดกับการปลูกไผ่ ณ ที่แห่งนี้ เดิมก็มีมะพร้าวปลูกอยู่แล้วพอมะพร้าวออกลูกมา แต่จัดการอะไรไม่ได้ จะขึ้นมะพร้าวก็ต้องไปจ้างเขาอีก ส่วนไผ่นั้นออกหน่อที่โคนต้นขุดหน่อไม้ มากินมาขายได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปจ้างคนมาขุดให้เป็นรายจ่าย จึงตัดสินใจปลูกไผ่เป็นเรื่องเป็นราว ครั้งแรกปลูก 1 ต้น แล้วตามมาอีก 32 ต้น คนแถวนี้เขาก็หาว่าเราบ้า ไผ่ไม่จำเป็นต้องปลูก มันขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว

PAN_4621-S

PAN_4614-S

PAN_4604-S

     ตอนนี้ปลูกมา 11 ปี ในพื้นที่ 8 ไร่ กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ในตอนนี้ ประโยชน์ของไผ่มีมากจริงๆ ลำต้นใหญ่ใช้ทำเป็นเสาบ้าน ทำบ้าน ลำต้นเล็กใช้ทำโตะ เก้าอี้ กระบอกน้ำ ทำกระบอกข้าวหลาม ทำถ่านหุงข้าว ถ่านดูดกลิ่น ใบร่วงลงพื้นดินก็นำเอาไปทำปุ๋ย หน่อไม้ทำใช้เป็นอาหาร กินไม่หมดก็เก็บเป็นหน่อไม้ดอง ฉะนั้นต้นไผ่เป็นทั้งที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มจากไผ่ก็เริ่มผลิตกันแล้ว เสาร์กับอาทิตย์เราเปิดเป็นตลาด ให้คนในชุมชนเอาสินค้าท้องถิ่นมาขาย ที่นี่ต้นไผ่จะมีหน้าที่คอยดูดควันผิด เพิ่มออกซิเจนให้กับธรรมชาติ เข้ามาในสวนไผ่แล้วทำให้เดินช้าลง เพราะเพลินใจกับอากาศบริสุทธิ์”  

PAN_4325-S

             เขาทะลุ สัญญาลักษณ์เมืองพัทลุง

PAN_4313-S

        เขาทะลุ หรือเขาอกทะลุเป็นภูเขาหินปูน  ยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 245 เมตร ภูเขาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นานาชนิด พื้นที่เชิงเขามีประชาชนอยู่อาศัย ใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และเลี้ยงวัว ด้านล่างมีลำคลองไหลผ่านหลายสาย เขาอกทะลุ เป็นเขาที่มีความสำคัญของจังหวัดพัทลุง เพราะเป็นสัญญาลักษณ์เมืองพัทลุง บนเขามีถ้ำอยู่หลายถ้ำ 

PAN_4309-S

PAN_4320-S

         นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของจังหวัด เพราะบนเขามีถ้ำอยู่หลายถ้ำ มีการค้นพบพระพิมพ์ดินดิบศิลปะสมัยศรีวิชัย จำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าบริเวณพื้นที่เขาอกทะลุ เคยเป็นที่ประกอบกิจกรรมของผู้คน หรือนักบวชภิกษุสงฆ์ในอดีตมาก่อน  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เคยเสด็จประพาสเมืองพัทลุง ตอนเสด็จประพาสแหลมมลายูเมื่อ ร.ศ.107

PAN_4348-S

            แบบไทย อาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้

PAN_4354-S

PAN_4409-S

       มื้อเที่ยงต้องหาร้านอาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้ทาน ร้านแบบไทย ก็เป็นช้อยที่ดีครับ เรือนไม้ทรงไทยปักษ์ใต้ ทาสีแดงเด่นสง่า บรรยากาศร้านกว้างขวาง พันธ์ไม้ใหญ่ปกคลุมร่มรื่น การปรุงอาหารจะไม่ใช่ผงชูรส และผงปรุงรส เน้นอาหารเพื่อสุขภาพปลอดสารพิษ ใช้วัสุดดิบในท้องถิ่นจากธรรมชาติ ร้านนี้เปิดมาแล้ว 9 ปี เป็นเครื่องการันตรีความอร่อยได้อย่างแน่นอน ก่อนหน้านั้นเปิดเป็นร้านนวดแผนไทยมาก่อน แล้วก็มาเปิดร้านอาหาร เนื่องจากต้องทำทานอาหารที่ไม่มีสารพิษทานเอง และให้บริการลูกค้าที่มานวด

PAN_4381-S

PAN_4367-S

PAN_4374-S

PAN_4393-S

PAN_4383-S

       เมนูมื้อแนะนำก็มีให้เลือกเยอะมาก ต้อนรับด้วยเวลคัมดริ้งน้ำเสาวรส รสอมเปรี่ยวตัดหวานนิดหน่อยดื่มแล้วสดชื่น ออเดิร์ฟด้วยยำมะม่วงปลาลูกเบร่ ทอดจนเหลืองกรอบน้ำยำเปรี้ยวนำหวานตามตัดด้วยเค็มปลายลิ้น  ปลายทรายทอดขมิ้น เนื้อปลาทรายกรอบนอกนุ่มใน หอมขมิ้นทานได้ทั้งตัว มาถึงเมนูหลัก ผัดสายบัวกะปิกุ้ง สายบัวสดกรอบพัดกับกะปิแท้อร่อยจริง แกงส้มปลากดลูกเขาคัน เนื้อปลาสดได้รสเปรี้ยวจากลูกเขาคันเปรี้ยวมีเอกลักษณ์เฉพาะ แกงน้ำเคยใบพาโหม น้ำเคยได้รสของเนื้อกุ้งเต็มคำทานกับเส้นหมี่ได้อย่างลงตัว ปิดท้ายด้วยผมไม้ท้องถิ่น

PAN_4451-S

               นวดเท้า นวดตัว นวดสปา แบบไทย

PAN_4459-S

         ทานอาหารเสร็จก็มาพักผ่อนคลายร้อนด้วยการ นวดเท้า นวดตัว นวดสปา แบบไทย ต่อเลยครับ เพราะว่าเป็นร้านเดียวกัน พี่เพียงใจเจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า “เราเปิดบริการมาแล้ว 12 ปี เดิมทีไม่คิดเลยที่จะเปิดร้านนวดแผนไทย แต่สามีป่วยก็เลยต้องไปเรียนนวดกับอาจารย์เพื่อมานวดให้สามี และสามีต้องใช้คนนวดในแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก ก็เลยเปิดร้านนวดแบบไทยเสียเลย จะได้ให้เด็กที่ร้านมานวดให้กับลูกค้าได้ด้วย 

PAN_4432-S

PAN_4428-S

PAN_4427-S

PAN_4416-S

         ที่ร้านเราจะมีนวดหลายแบบนวดผ่อนคลาย ปรับสมดุลร่างกายให้จิตแจ่มใส่ นวดฝ่าเท้า นวดสปา อโรมา นวดกัวซา แก้อาการเฉพาะจุด ไฮไลท์ของที่นี้ก็คือการมาทดลองนวดกับหมอนวดที่ละหลายคน แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคนว่าจะจนได้ขนาดไหน หรือใครจะมาชมการนวดของสามีที่ใช้คนนวดครั้งละ 14 คน ก็มีการสาธิตให้ชมได้ค่ะ”

PAN_3055-S

             เช็คอิน ถ่ายรูปซิว ซิว ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

PAN_3151-S

PAN_2993-S

     ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หรือ สะพานเอกชัย อ.ควนขนุน สร้างขึ้นเพื่อ เฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ครบรอบ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2560 เป็นสะพานยกระดับข้ามทะเลน้อย เชื่อมต่อบ้านไสกลิ้ง อำเภอควนขนุน กับบ้านหัวป่า อำเภอระโนด มีความยาว 5.45 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวต้องมา เช็คอิน ถ่ายรูปซิว ซิว กันทุกคน ไม่ว่าจะตั้งใจมาหรือ ขับรถผ่านมา เพราะเป็นจุดชมวิวที่เพลิดเพลินอย่างมาก อากาศบริสิทธิ์  

PAN_2971-S

PAN_3175-S

PAN_3179-S

       สะพานมีช่วงเว้านักท่องเที่ยวจอดรถลงมาถ่ายรูปได้อย่างสบายใจ ช่วงเย็นเหมาะอย่างมากกับการมาชมวิว แสงแดดอ่อนๆ สายลมเย็นพัดมาเอื่อยๆ พื้นชุ่มน้ำแห่งนี้จะเต็มไปด้วยนกน้ำนานาชนิด ที่โผบินมาเป็นฝูงเพื่อกลับรังนอน ฝูงควายน้ำก็พากันวิ่งกลับคอก ส่วนนักท่องเที่ยวก็ถ่ายรูปเช็คอินกันได้ตามอัธยาศัย

PAN_2966-S

                มื้อเย็น ร้านวิวยอ เหมาะสมดี

PAN_2965-S

PAN_2969-S

     ร้านตั้งอยู่ปากคลองปากประ เห็นยอหาปลาเรียงเป็นแนวยาวต่อกันไป ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการทำประมงพื้นบ้านของชาวพัทลุง นอกจากวิวดีแล้วอากาศก็ดีเย็นสบายด้วย มีจุดให้เช็คอินถ่ายรูปที่ยืนไปในทะเล นักท่องเที่ยวเดินถ่ายรูปได้ก่อนระหว่างรออาหาร เหมาะกับการมาทานอาหารเย็นอย่างยิ่ง ถ้ายังชื่นชมบรรยกาศยังไม่เต็มอิ่ม ก็มี ศรีปากประ รีสอร์ท ให้นอนพักค้างคืนได้อีกด้วย 

PAN_2947-S

PAN_2945-S

PAN_2954-S

PAN_2960-S

    เมนูแนะนำในค่ำนี้ เรียกความสดชื่นด้วยน้ำมะพร้าวอ่อนที่เสิร์ฟมาเป็นลูก น้ำมะพร้าวหวานหอม เนื้อมะพร้าวอ่อนกำลังดี ออฟเดิร์ฟด้วยส้มตำสายบัว สายบัวกรอบเข้ากันได้ดีกับรสของปูเค็ม มาถึงเมนูหลักปลาช่อนยำตะไคร้ เนื้อปลากรอบนอกนุ่มใน นำ้ยำเปรี่ยวนำ หวานตาม เข้าเนื้อปลาได้เป็นอย่างดี ปลาหมอคั่วเกลือ เมนูหาทานยากมาก ปลาหมอตัวใหญ่เนื้อหนึบคั่วเกลือกับพริกแกงใต้ ให้รสเนื้อปลาหวานตัดด้วยเครื่องแกงใต้หอมกรุ่น

PAN_3359-S

                ตามรอยอนันดา มายกตะวัน ที่ปากประ

PAN_3292-S

         มาเที่ยวพัทลุงต้องแต่ตื่นเช้า มาลงเรือที่ท่าเรือร้านวิวยอ ที่มาทานมื้อเย็นเมื่อวานนี้ครับ ระห่างรอลงเรือก็เดินไปที่สะพานข้ามคลองปากประ วิวที่เห็นอยู่ข้างหน้า ยอหาปลาเรียงเป็นแนวยาวต่อกันไป ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการทำประมงพื้นบ้านของชาวพัทลุง ต่างกับเมื่อวานเพราะจุดนี้จะได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นด้วย ซึ่งไม่เหมือนกับเมื่อวานที่เห็นแต่ยอกับผืนน้ำเท่านั้น แต่รอแล้วรอเล่าพระอาทิตย์ก็ไม่มาสักที วันนี้คงโชคไม่ดีไม่ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้น แล้วก็ถึงเวลาต้องไปลงเรือแล้ว 

PAN_3385-4S

      เรือหางยาวลงได้ลำละไม่เกิน 6 คน จะออกจากท่าประมาณหกโมงครึ่งครับ ต้องลงเรือเพื่อมาตามรอยอนันดามา ยกตะวัน ที่ปากประ ถึงจะบอกได้ว่ามาถึงพัทลุงแล้ว เรือหางยาวค่อยๆแล่นออกมาจากท่าเรืออย่างช้าๆ พอพ้นปากคลองมาได้ ดวงอาทิตย์ก็ค่อยๆแทรกตัวออกมาจากเรือนเมฆ ลำแสงสีแดงส้มส่องผ่านยอลงมา คล้ายกับยอกำลังยกตะวันขึ้นมา เป็นภาพที่ผมคาดไม่ถึงที่ได้เห็นในเช้านี้ งดงามประทับจนบอกไม่ถูก คงจะอยู่ในความทรงจำไปอีกนาน 

PAN_4000-S

                ล่องเรือชมนกน้ำ ควายน้ำ บัวแดง หญ้า ที่ทะเลน้อย

PAN_3564-S

         ทะเลน้อย หรือ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพื้นที่ประมาณ 17,500 ไร่ มีความกว้างประมาณ 5 กิโลเมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตำบลนางตุง และตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พื้นที่ล้อมรอบส่วนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเฉพาะพรุควนขี้เสียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือ แรมซาร์ไซต์ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ครอบคลุม 3 จังหวัดคือ พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ทะเลน้อยมีหลายคลองเชื่อมต่อไปยังทะเลสาบสงขลาได้ โดยเฉพาะปากคลองปาประ มียออยู่ปากคลองเยอะมาก จนเป็นเอกของลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงไปแล้ว 

PAN_3536-S

PAN_3505-1S

PAN_3616-S

         เรือหางยาวหันหัวกลับเข้าคลองปากประ  เพื่อไปชม ทะเลบัวแดง สาหร่ายข้าวเหนียว นกน้ำ และควายน้ำ ไฮไลท์ของทะเลน้อยในเช้านี้ ยังไม่ทันพ้นคลองปากประไปเลย เรือห่างยาวก็ต้องแล่นฝ่าฝูงนกกระยางไป เข้าสู่พื้นที่ทะเลน้อยในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจะได้ตื่นตาตื่นใจ กับทุ่งทะเลบัวแดงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แบบพาโนรามา กว้างสุดหูสุดตา

PAN_3425-S

PAN_3884-S

PAN_3654-S

PAN_3790-S

         แล่นเรือต่อไปหน่อยก็จะเจอกับฝูงนกหลายพันธ์ มีทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพ เช่น นกกาบบัว นกกุลา นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกาเล็กน้ำ นกแขวก นกเป็ดน้ำ นกกระทุง นกนางนวล นกกระเด็น โดยช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่นกชุกชุมที่สุด ราวแสนตัว บินโฉบไปโฉบมา ให้นักท่องเที่ยวที่อยู่ในเรือได้ถ่ายรูปกันเป็นที่สนุกสนาน

PAN_3684-S

PAN_3742-S

PAN_3719-S

        ที่ทะเลน้อยนอกจากมีนกน้ำแล้ว ยังมีควายน้ำที่เรียกร้องความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้อย่างมาก หลายคนส่งสัยว่าฝูงควายมาอยู่ในทะเลน้อยได้อย่างไร ความจริงแล้วควายน้ำพวกนี้ก็เป็นควายบ้านธรรมนี่แหละ แต่เนื่องด้วยต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม คนเลี้ยงควายเอามาปล่อยให้หากินตอนเช้า ต้อนกลับเข้าคอกในตอนเย็น ก็เลยต้องมาหากินในทะเลบัวแดงแหล่งนี้

PAN_3974-S

PAN_3960-S

PAN_3924-S

PAN_3957-S

          ทุ่งสาหร่ายข้าวเหนียว น่าเป็นไฮไลท์สุดสุดๆของทะเลน้อยในปีนี้ สาหร่ายข้าวเหนียวเป็นพืชกินแมลง ในต้นกูลสร้อยสุวรรณ ต้นสาหร่ายจะทอดยาวเป็นพวงอยู่ในน้ำ ชูเฉพาะช่อขึ้นมาเหนือน้ำสูงประมาณ 1 เมตร มีกระเปาะไว้สำหรับดักแมลง ดอกมีทั้งสีเหลืองและสีม่วงอมชมพู ปีนี้พิเศษสาหร่ายข้าวเหนียวสีม่วงบานเต็มทุ่งกว่า 500 ไร่ แต่ก็มีสาหร่ายข้าวเหนียวดอกสีเหลืองแซมบ้างประปราย หาชมได้ที่ทะเลน้อยแหล่งเดียวเท่านั้นในประเทศไทย ได้ล่องชมธรรมชาติยามเช้าในทะเลน้อย ทำให้รู้สึกว่าได้อยู่กับธรรมชาติมากขึ้น 

PAN_4544-S

             ต้อมบักกุ๊ดเต๋ อาหารเช้าเมืองพัทลุง

PAN_4557-S

PAN_4559-S

       เมื่อมาถึงเมืองพัทลุงไม่ว่าท่านจะมารถหรือเครื่องบิน มื้อเช้าไม่ควรพลาดร้านต้อมบักกุ๊ดเต๋ ร้านอาหารเช้าของเมืองพัทลุง เปิดมาแล้วเกือบ 10 ปี ลูกค้าที่มาอุดหนุนก็หลากหลาย ทั้งจากคนพัทลุงเอง นักท่องเที่ยวไทย และต่างชาติ  อร่อย ราคาดีมีเหตุผล อาหารเช้าก็ให้เลือกหลากหลาย บริการแบบเหมือนนั่งกินอยูที่บ้าน

PAN_4569-S

PAN_4556-S

PAN_4550-S

PAN_4565-S

       ผมเลือก ชาเย็น เป็นเครื่องดื่มในมื้อนี้  เพราะไม่หวานมากจนเกินไป เมนูห้ามพลาด บักกุ๊ดเต๋ต้องสั่งเป็นถ้วยแรก เพราะเป็นเมนูธงของทางร้าน ต้มเดือดทุกถ้วย น้ำซุปหวาน ไม่เข้มเครื่องเทศ ซีกโครงหมูต้มจนเปื่อยไม่ติดกระดูก ตามด้วยข้าวต้มปลากระพง เนื้อปลา สด น้ำจิ้มเต้าเจี้ยวรสเด็ด ต่อด้วยติ่มซำ ที่มีให้เลือกเยอะมาก สั่งให้นึ่งกันใหม่สดได้เลย ไม่ต้องกลัวทานไม่หมดคืนได้ ร้านอยู่ในตัวเมืองพัทลุง ซอยดิสรา-สาครินทร์ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 6.00 – 12.00 น.  

PAN_2910-S

                 หลาดใต้โหนด ตลาดแบบ บ้าน บ้าน PAN_2915-S

PAN_2923-S

            ตลาดใต้โหนด ภาษาใต้อ่านว่า “หลาดใต้โหนด” หมายถึงตลาดใต้ต้นตาลตะโหนด ตั้งอยู่ที่บ้านจันนา ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ภายใต้แนวคิด กินดี มีสุข สอดคล้องกับป่า นา เล วิถีชีวิตของชาวใต้อย่างแท้จริง สิ่งที่หลาดใต้โหนดแตกต่างจากที่อื่น ก็คือร้านและพื้นที่ของตลาด ตกแต่งเน้นใช้วัสดุธรรมชาติมาออกแบบให้ร่วมสมัย ภาชนะใส่สินค้าก็ใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อลดการใช้โฟม และพลาสติก ตลาดเปิดเฉพาะวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 15.00 น.

PAN_2887-S

PAN_2936-S

            นอกจากมีอาหารและผลิตพันธ์ขายแล้ว ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน มีร้านกาแฟให้นั่ง อ่านหนังสือ จิบกาแฟ ซิว ซิว เสพงานศิลป์ ของ คุณกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 2539 ไปด้วยก็ได้ การแสดงพื้นเมืองมี มโนราห์จากเยาวชนที่มีใจรักศิลปะพื้นเมือง หนังตะลุงคณะหนังตาน้อย ศ สุพัฒน์ มาหารายได้พิเศษในวันหยุด ให้นักท่องเที่ยว และคนที่มาซื้อสินค้า ได้ชมการแสดงพื้นบ้านเมืองพัทลุงกันอีกด้วย 

PAN_4194-S

             ผลิตภัณฑ์กระจูด วรรณี หัตถกรรมพื้นบ้านแบบโมเดิร์น

PAN_4203-S

PAN_4217-S

PAN_4222-S

        กระจูดเป็นพืชตระกูลเดียวกับกก ที่ทะเลน้อยมีต้นกระจูดขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่มากมาย ซึ่งเป็นวัสถุดิบชั้นดี เหมาะสำหรับนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จากกระจูดออกจำหน่าย วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูด วรรณี จึงได้นำต้นกระจูดมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากคนรุ่นใหม่ พัฒนาเทคนิคย้อมสีธรรมชาติ ทำให้กระจูดมีสีหลากหลายขึ้น ออกแบบให้โมเดิร์น ดีไซน์ร่วมสมัยแต่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของกระจูดไว้

PAN_4259-S

PAN_4232-S

         วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูด วรรณี เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้คนจากทั่วประเทศมาศึกษาดูงาน นักท่องเที่ยวได้มาดู การสาธิต สาน ทักทอ ศึกษาวิธีทำผลิตภัณฑ์จากกระจูด แล้วเปิดจำหน่าย กระเป๋า ตระกร้า สื่อ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระจูด ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับบ้านได้

PAN_4261-S

              นาโปแก เรียนรู้วิถีชาวนาแบบคนพัทลุง

PAN_4299-S

PAN_4286-S

PAN_4278-S

PAN_4282-S

PAN_4273-S

      นาโปแก ตั้งอยู่ในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เปิดบริการทุกวันไม่มีวันหยูด เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้น้องเยาวชน ได้มาเรียนรู้วิถีคนพัทลุงดั่งเดิม นอกจากนี้ยังเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมชมด้วย เข้ามาแล้วจะได้เรียนรู้วิถีชาวนาเมืองพัทลุงแบบขนานแท้ ชมการสาธิตการปลูกข้าว การสีข้าวของคนรุ่นก่อน ชมวิถีชีวิตเด็กเลี้ยงวัว เป็นวิถีเกษตรแบบบ้าน ๆ 

PAN_4291-S

PAN_4297-S

PAN_4294-S

PAN_4288-S

     ดื่มด่ำกับความเขียวขจีของท้องทุ่งนากว้างใหญ่ เต็มไปด้วยต้นข้าวหลากหลายสายพันธุ์ เดินไปตามสะพานไม้ทอดตัวยาวไปตามท้องนา ลมพัดผ่านเย็นสบาย บริเวณโดยรอบปลูกกระท่อมไม้อยู่รายล้อมทุ่งนา ไว้เป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ให้บริการนักท่องเที่ยวมาพัก ใครก็ต้องมาถ่ายรูปเพลินเพลินกับกิจกรรมการดำนา ลงมือปักดำนา การสีข้าวแบบโบราณ และพิธีบายศรีสู่ขวัญ แต่ละกิจกรรมนักท่องเที่ยวจะได้ลงมือทำด้วยมือของตนเอง

PAN_4333-S

             พักจิบกาแฟยามบ่ายที่ ขนำคอฟฟี่ 

PAN_4330-S

      เที่ยวมาเหนื่อยนักก็พักจิบการแฟเสียก่อน คิดจะพักจิบกาฟที่เมืองพัทลุงก็ต้องที่ร้าน ขนำคอฟฟี่ เพียงแค่เดินเข้าไปในร้านบนสะพานไม้ ก็จะมีขนำไม้เรียงตัวไปตามสะพานไม้ มองต่อออกไปจากขนำก็จะเห็นเขาอกทะลุ เป็น Back Ground อยู่ข้างหลัง แค่บรรยากาศของร้านก็สุดยอดแล้วครับ ในขนำแต่ละก็เข้าไปนั่งจิบกาแฟได้อย่างเย็นใจ

PAN_4343-S

         ขนำคอฟฟี่ ตั้งอยู่ที่ ถนนมโนราห์ เปิดให้บริการทุกวันหยุดไม่มีวันหยุด กาแฟก็มีให้เลือกจิบหลายเมนู ชา กาแฟสด เครื่องเคียงก็มีขนมตาล ขนมกล้วย เค้กมะพร้าวในกระลา นอกจากนี้ยังเมนูข้าวผัดปู และข้าวผัดน้ำพริกปลาทู ให้ได้ลองชิมกันอีกด้วย 

PAN_3343-S

         ตามรอยอนันดา มายกตะวัน ที่ปากประ ชมนกน้ำ ควายน้ำ บัวแดง สาหร่ายข้าวเหนียว ที่ทะเลน้อย อิ่มมื้อเช้าที่ ต้อมบักกุ๊ดเต๋ เช็คอิน ถ่ายรูปซิว ซิว ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 เข้าพื้นที่สีเขียว สวนไผ่ขัวญใจ เรียนรู้วิถีชาวนาแบบคนพัทลุง ที่ นาโปแก ทานอาหารกลางวัน ที่ร้านแบบไทย อาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้ ลองสานกระจูดที่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กระจูด วรรณี พักจิบกาแฟยามบ่ายที่ ขนำคอฟฟี่ ปิดท้ายช้อปสิ้นค้าพื้นเมือง ที่หลาดใต้โหนด ตลาดแบบ บ้าน บ้าน ทำให้รู้สึกเหมือนก้าวช้าลง อยู่กับธรรมชาติมากขึ้นครับ