THEWAYNEWS > Travel > In bound > ท่องเที่ยวโดยชุมชน @ กระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

            ท่องเที่ยวโดยชุมชน @ กระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

TRB_2372-S

      เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา

TRB_2237-S

           การท่องเที่ยวโดยชุมชน Community Based Tourism (CBT) เทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยว เป็นฐานรากของการท่องเที่ยวไทยโดยแท้จริง ทำให้คนในชุมชนมีความสุข รักใคร่สามมัคคีกัน ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจหมุนเวียนเงินในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น ท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้มแข็ง การท่องเที่ยวโดยรวมของชาติก็ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามไปด้วย 

TRB_2321-S

           นายคนเดช วงศ์พิน ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กระแสบน เล่าให้ฟังว่า “เมื่อสองสามปีที่แล้วกลุ่มของเรารวมตัวกัน ต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน แต่มันไม่ยั่งยืนรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ได้จริง กลุ่มเราจึงหันมาจัดตั้งเป็น วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กระแสบน ขึ้นมาเพื่อทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชน ซึ่งเราคิดว่าเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนอย่างแท้จริง และยั่งยืนอีกด้วย

TRB_2263-S

           เมื่อหันมามองทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวในชุมชนเราหลากหลาย บุคคลากรก็มีพร้อมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสายน้ำคลองกระแสบน ที่ธรรมชาติยังคงอุดมสมบรูณ์อยู่ นักท่องเที่ยวจะได้นั่งเรือไปตามหาตัวลั้งหรือกิ่งก่ายักษ์ เรายังมีวัดที่เก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมา เราพร้อมที่ทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงอนุรักษ์อย่างเต็มกำลัง  โดยมี องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เป็นทั้งพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา”

TRB_2225-S

                  ชุมชนชาวมอญบ้านกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

TRB_2255-S

TRB_2249-S

TRB_2235-S

         การตั้งถิ่นฐานของ ชุมชนชาวมอญบ้านกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ต้องย้อนไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พม่าได้ยกทัพมาตีทางด้านจังหวัดตาก ชาวมอญที่อาศัยอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ก็ได้อพยพหนีภัยสงคราม ลงมาตั้งรกรากอยู่ที่หมู่บ้านกระแซ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นชุมชนบ้านกระแสบนในปัจจุบัน

TRB_2245-S

TRB_2243-S

TRB_2263-S

       เสียงซอสามสายดังมาแต่ไกล กลุ่มผู้สูงวัยบรรเลงเพลงไทยเดิม ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่ในศูนย์การเรียน ชุมชนชาวบ้านกระแสบน ที่ตั้งอยู่ในวัดกระแสคูหาสวรรค์ เพื่อเข้าสู่โปรแกรมท่องเที่ยวของชุมชน มีการสาธิตการสีข้าว ตำข้าวด้วยเครื่องมือที่ทำจากภูมิปัญญาดั่งเดิมของคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวได้ทดลองตัดกระดาษทำพวงมะโหด ปั้นขนม ได้อีกด้วย

TRB_2269-S

             กราบหลวงพ่อเชียงรุ้ง วัดกระแสบนคูหาสวรรค์

TRB_2274-S

      ดื่มน้ำสมุนไพรที่เสิร์ฟมาในจอกไม้ไผ่ เย็นชื่นใจ คลายร้อนแล้วก็มา กราบหลวงพ่อเชียงรุ้ง วัดกระแสบนคูหาสวรรค์ เป็นวัดที่ก่อตั้งมาพร้อมกับชุมชน ตัวพระอุโบสถหลังใหม่ก่ออิฐถือปูนศิลปะรัตนโกสินทร์ หลังคาทรงจั่วซ้อนกันสองชั้น ล้อมด้วยใบเสมาอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว แสดงขอบขันพัทธสีมา 

TRB_2277-S

TRB_2282-S

       ภายในประดิษฐานหลวงพ่อเชียงรุ้ง ปางมารวิชัย สร้างขึ้นจากศิลาแลงทั้งองค์ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย เศียรใหญ่ หูยาน สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุประมาณ 400 ปี เป็นที่เคารพบูชาของในชุมชนเป็นอย่างมาก ที่ศาลาการเปรียญยังมีหลวงพ่อศิลา คาดว่าอายุเก่าแก่รุ่นเดียวกัน ให้นักท่องเที่ยวได้กราบบูชาอีกองค์หนึ่งด้วย 

TRB_2285-S

           นั่งรถอีแต๊ก ชมสวนมังคุด ลุงจริต

TRB_2337-S

      ไหว้พระขอพรกันแล้วก็นั่งรถอีแต๊ก ชมสวนมังคุด ลุงจริต นามสนิท เกษตรกรดีเด่นประจำตำบลกระแสบน แหล่งผลิตมังคุดภาพดีได้รับการรับรองมาตราฐาน GAP นอกจากมังคุดแล้ว สวนลุงจริตยังปลูก ทุเรียน เงาะ ลองกอง และสละ อีกด้วย เพื่อเป็นประกันความเสี่ยงจากราคาผลไม้ตกต่ำ และสามารถเก็บผลผลิตสร้างรายได้ตลอดทั้งปี 

TRB_2329-S

TRB_2333-S

       นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมสวนจะได้ชิมผลไม้ตามฤดู เริ่มตั้งแต่เมษายนจะได้ชิมทุเรียนที่จะเริ่มทะยอยออกก่อน ต่อด้วยเงาะในเดือนพฤษภาคม ปิดท้ายด้วยลองกองในเดือนกรกฎาคม ยกเว้นสละมีให้ชิมทั้งปี

TRB_2363-S

             ล่องเรือคลองกระแสบน ตามหาตัวลั้ง 

TRB_2340-S

     ชมสวนชิมผลไม้แล้วก็เดินไปท้ายสวนลุงจริต เพื่อไปลงเรือล่องไปตามคลองกระแสบน ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำประแสร์ ธรรมชาติยังคงสวยงามสมบรูณ์ สองฝั่งคลองเต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ โดยเฉพาะป่าไผ่ที่มีมากกว่าไม้ชนิดอื่น

TRB_2342-S

      จุดหมายของการล่องเรือในครั้งนี้ก็เพื่อไปตามหา ตัวลั้งหรือตะกองนายท้ายเรือเล่าให้ฟังว่า “ตัวลั้งนี้ชาวบ้านเรียก กิ้งก่ายักษ์ ตัวสีเขียว เปลี่ยนสีให้กลืนไปกับพันธ์ุไม้ได้ยามหลีกภัย ยาวจากหัวถึงห่างประมาณ 1 เมตร เมื่อก่อนมีชุกชมในแถบนี้ เนื่องจากความไม่รู้คนในท้องถิ่นจึงจับมาเป็นสัตว์เลี้ยง บ้างคนก็จับทำเป็นอาหาร แต่ด้วยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ใกล้สูญพันธ์ุ คนในชุมชนก็กลับมาอนุรักษ์เอาไว้ ให้นักท่องเที่ยวมาล่องเรือตามหามัน

TRB_2307-S

           อิ่มมื้อเที่ยงกับกุ้งแม่น้ำตัวเขื่อง

TRB_2291-S

   เรือมาเทียบท่าที่สวนลุงพึง ที่ทางชมรมฯ ได้สร้างศาลามุงจากไว้เป็นที่รับประทานอาหารเที่ยงของนักท่องเที่ยว เป็นการปิดทริปครึ่งวันด้วยอาหารกลางวันแบบท้องถิ่น เมนูเด่นก็มี เส้นจันทร์ผัดปู ยำมะขือเผา ทอดมันหัวปลี น้ำพริกมะขาม พร้อมข้าวสวยร้อนๆที่เสิร์ฟมาในกระบอกไม้ไผ่ 

TRB_2299-S

TRB_2297-S

TRB_2293-S

     และที่พลาดไม่ได้ก็คือกุ้งแม่น้ำเผาตัวเขื่อง ที่คนในชุมชนหาได้จากสายน้ำที่ไหลผ่านชุมชน มาเที่ยวชุมชนกระแสบน แล้วไม่ได้ทานกุ้งแม่น้ำตัวเขื่องถือว่าพลาด จะต้องมาใหม่ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ภาชนะที่นำมาใช้เสิร์ฟอาหาร จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม    

TRB_2280-S

TRB_2290-S

       องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานพิ้นที่พิเศษ 3 ได้ขยายเขตความรับผิดให้ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ด้วยการเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กำหนดเส้นทางท่องเที่ยว กิจกรรม นำเสนอสินค้าด้านการท่องเที่ยว ด้วยตัวชุมชนเอง แต่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่มากนัก เป็นการเปิดเส้นท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส สร้างการรับรู้ ให้กับคนที่สนใจเดินทางท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ให้เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดระยองขับเคลื่อนต่อไปได้