THEWAYNEWS > Hot > เที่ยวชายแดนใต้ @ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

               เที่ยวชายแดนใต้ @ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

NAR_6282-S

เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา 

NAR_6184-S

คนไทยจากภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ และรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกราก อยู่ที่อำเภอสุครินตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ตามมติคณะรัฐมนตรีได้ให้กรมประชาสงเคราะห์ จัดตั้งนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส เพื่ออพยพราษฎรที่มีฐานะยากจน และไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองจากท้องที่ต่างๆ เข้ามาประกอบอาชีพในเขตนิคม พื้นที่ 2 อำเภอ คืออำเภอสุคิริน และอำเภอจะแนะ

NAR_6327-S

             คำว่า “สุคิริน” เป็นนามพระตำหนักที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานเมื่อครั้งเสด็จประทับแรมในพื้นที่อำเภอสุคิรืน เมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งมีความหมายว่า “พันธุ์ไม้อันเขียวชอุ่ม” สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ และพืชพันธ์ุไม้หลากชนิด สุคิริน เดิมเป็นกิ่งอำเภอปาโจ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะเป็นอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2529

NAR_6193-S

ไหว้ศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ อำเภอสุคิริน 

NAR_6180-S

NAR_6189-S

เที่ยวชายแดนใต้ @ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ในทริปนี้ลงพื้นที่อำเภอสุคิริน เดินทางมาไหว้ศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ อำเภอสุคิริน ก่อนเป็นที่แรกเพื่อกราบขอพร ชาวไทยพุทธที่อพยพมาอยู่ที่นี่ในช่วงแรกๆยังไม่รู้จะทำอะไรก็เดินเข้าป่าหาของป่ามาเพื่อยังชีพ เข้าป่าไปลึกๆเข้าก็หลงป่า จึงได้บนบานศาลกล่าว กลับเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะขอให้ทางออกจากป่าได้อย่างปลอดภัย เพราะในสมัยนั้นเสือ สิงห์ กระทิง แรด ยังมีอยู่มาก ก็ได้รับความคุ้มครองจากเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ สามารถหาทางออกจากป่าได้อย่างปลอดภัยกันทุกคน ส่วนชาวจีนแคะที่อยู่ในพื้นที่ดั่งเดิม เมื่อครั้งอพยพมาจากเมืองจีน ก็ขอพรเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ ทำมาค้าขายประสบความสำเร็จกันเกือบทุกคน

NAR_6200-S

NAR_6204-S

NAR_6216-S

เดิมศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะก็ตั้งอยู่ที่ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส แห่งนี้แหละ จากที่กัปตันฮิ้วฟู ได้ไปอันเชิญกระถางธูปของศาลเจ้าแม่มาจูมาจากเมืองจีน เพื่อมาสร้างศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ ให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเคารพบูชา ของคนงานเหมืองแร่ที่ทำงานขุดแร่อยู่ในบริเวณนี้ ต่อมาคนท้องถิ่นและคนงานเหมืองได้หนีภัยสงคราม และโรคระบาด อพยพทิ้งถิ่นฐานที่ภูเขาทองหนีไปอยู่สุไหงโกลกกันหมด ปล่อยให้หมู่บ้านร้างไปไม่มีคนอยู่อาศัย รวมถึงศาลเจ้าแม่ก็พังทลายไปด้วย จากนั้นคนสุคิรินที่อพยพไปอยู่ที่สุไหงโกลกแล้วค้าขายรำ่รวย ก็ได้กลับมาสร้างศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน

NAR_6267-S

            ร่อนแร่หาทองคำ ณ ต้นน้ำสุไหงโกลก

NAR_6299-S

เมื่อก่อนชาวฝรั่งเศสได้รับสัมปทานการทำเหมืองแร่ทองคำ ที่บริเวณภูเขาลีซอหรือภูเขาทองในปัจจุบัน ชาวบ้านจึงได้อพยพเข้ามาทำงาน ที่เหมืองแร่ทองคำเป็นจำนวนมาก ภายหลังเหมืองทองคำได้ถูกยกเลิกสัมปทานไป แต่ชาวบ้านก็ยังคงร่อนแร่หาทองคำ ณ ต้นน้ำสุไหงโกลก หาเลี้ยงชีพจากเศษแร่ทองคำที่ร่อนได้ ประกอบเป็นสัมมาอาชีพกันเรื่อยมาจนถึงขณะนี้

NAR_6221-S

NAR_6233-S

นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมสาทิตการร่อนแร่ทองคำจากชาวบ้าน ต้องติดต่อเข้ามาก่อนเพราะชาวบ้านจะลงร่อนแร่ไม่เป็นเวลา ว่างจากภาระกิจทางบ้านแล้วถึงจะลงร่อนแร่ ครั้งหนึ่งก็ใช้เวลาประมาณ 1- 2 ชั่วโมง ก็เลยพอได้ค่ากับข้าว 200 – 300 บาท ก็เพียงพอแล้ว ร่องรอยของการทำเหมืองก็ยังคงมีให้เห็นได้ จากอุโมงค์เหมืองที่ถูกขุดเขาไปหาแร่ทองคำออกมาร่อน

NAR_6304-S

           รำร่อนแร่ วัฒนธรรมที่ผสมผสาน

NAR_6307-S

เดินทางมาท่องเที่ยวที่ชมชนภูเขาทอง จะได้รับการต้อนรับด้วยการแสดง “รำรอนแร่” เป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสาน ของลูกหลานชาวอีสานที่อพยพอยู่ที่สุคิรินในรุ่นบุกเบิก ผสมผสานทั้งวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ก่อเกิด เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ชาวสุคิรินโดยกำเนิด รับรู้ได้จากการแสดงต้อนรับ เสียงพิณในท่วงทำนองอีสาน นางรำก็อยู่ในชุดเซิ้งอีสาน แต่หน้าตาออกไปทางมาลายู แล้วก็ “รำรอนแร่” อีกต่างหาก ซึ่งหาชมที่สุคิรินที่เดียว

อาหารที่ทำมาเลี้ยงแขกบ้านแขกเมืองผู้มาเยือน ก็ยังคงเป็นอาหารแบบอีสาน แต่ใช้วัตถุดินในท้องดินแดนใต้มาปรุงแต่งรสชาติ ให้เป็นเอกลักษณ์ของคนสุคิริน

NAR_6336-S

ต้นสมพงยักษ์ ป่าฮาลา – บาลา

NAR_6317-S

NAR_6323-S

ต้นสมพงหรือต้นมันช้าง อยู่ในหน่วยพิทักษ์ภูเขาทอง เป็นหน่วยย่อยของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา – บาลา ต้องเดินผ่านป่ารกชัฏเข้าไปประมาณ 400 เมตร ผ่านสะพานคอนกรีตข้ามห้วยเข้าไปก่อนเป็นอันดับแรก แล้วก็เดินต่อไปบนสะพานต้นไม้คู่ ข้ามห้วยต่อไปอีกทอดหนึ่งก็ถึงต้นสมพงยักษ์ สภาพป่ายังคงสมบรูณ์อยู่เต็มเปี่ยม มีหญ้ามอสส์ (Moss) เหมือกำมะหยี่สีเขียวเกาะทั่วทั้งโขดหินริมลำห้วย เห็นต้นสมพงยักษ์แล้วก็ต้องยอมรับว่าใหญ่จริงๆ ยิ่งมีคนเข้าไปยืนถ่ายรูป เปรียบเทียบขนาดแล้ว คาดคะเนด้วยสายตาน่าจะถึง 30 คน โอบอย่างแน่นนอน แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นต้นสมพงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศหรือเปล่า

NAR_6334-1

NAR_6364-S

มีต้นสมพงยักษ์อยู่ในเขตอุทยานหลายจังหวัด เช่นที่เขาพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ที่เกาะยาว จังหวัดพังงา รวมถึงหน่วยพิทักษ์ภูเขาทอง ป่าฮาลา – บาลา จังหวัดนราธิวาสแห่งนี้ด้วย ทุกจังหวัดก็คาดว่าต้นสมพงยักษ์ของตนใหญ่ที่สุดในประเทศ ทางกรมอุทยานน่าจะไปประเมินจัดอันต้นไม้สมพงยักษ์เหล่านี้ให้เรียบร้อย ว่าต้นสมพงยักษ์ต้นไหนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยกันแน่

NAR_6362-S

อำเภอสุคิรินยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ยังคงสมบรูณ์อยู่อีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก ล่องแก่ง ทะเลหมอก คราวหน้าถ้ามีโอกาสได้ไปเยือนอำเภอสุคิรินอีก จะนำมารายงานให้แฟนเพจ thewaynews ได้รับชมกันครับ ส่วนนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวอำเภอสุคิรินตามรอยผม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส โทรศัพท์. 0 7352 2411 โทรสาร. 0 7352 2412 อีเมล: tatnara@tat.or.th เว็บไซต์: http://www.tourismthailand.org/narathiwat