THEWAYNEWS > Hot > เที่ยวเมืองรอง @ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

    เที่ยวเมืองรอง @ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ 

AMB_9203-S

                   เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา

CBT_5941-S

           จากวรรณกรรมเรื่อง “รามายณะ” ประเทศอินเดีย เคลื่อนย้ายมาประเทศไทยคือเรื่อง “รามเกียรติ์” ไหลเข้าสู่ภาคอีสานกลายมาเป็นเรื่องเล่าสองฝั่งโขง ตอน “พระรามเดินดง” กาลครั้งหนึ่ง พระราม พระลักษ์ พานางสีดา เดินดงมาแถบลุ่มน้ำโขงได้ถูกทศกัณฐ์ ลักพาตัวไปไว้ขังไว้ที่ “บ้านนางสีดา” ต่อจึงพานางสีดาเหาะข้ามแม่น้ำโขงไปขังไว้ที่ “ปราสาทเฮือนหิน” แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พระราม พระลักษ์ ตามมาสู้รบกับทศกัณฐ์เพื่อนำตัวนางสีดากับอยุธยาบุรีนคร ทศกัณฐ์สู้ไม่ไหวคุกเข่าของชีวิตกับพระราม พระลักษ์ กลายเป็นท่ายักษ์คุ “ชานุ” แปลว่า เข่า “มาร” แปลว่า ยักษ์ เป็นที่มาของอำเภอชานุมานในปัจจุบัน

CBT_5937-S 

          AMB_8435-S             

CBT_5953-S

       อำเภอชานุมาน เดิมชื่อเมืองชานุมาร ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ชานุมาน ปรากฏหลักฐานการเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ชานุมาน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองไซภูทอง แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นอำเภอที่ติดกับแม่น้ำโขง และอยู่เหนือสุดของจังหวัดอำนาจเจริญ มีจุดผ่อนปรนชายแดนไทย – ลาว ให้คนสองฝั่งโขงข้ามไปมาหาสู่ นำพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้ในพื้น แลกเปลี่ยนสินค้า ติดต่อค้าขายกันได้อย่างสะดวกสบาย ในแต่ละตำบลของอำเภอชานุมาน มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ตามชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นๆ

AMB_8574-S

           ชมความงามสายน้ำโขงที่แก่นคันสูง 

AMB_8598-S

AMB_8575-S

AMB_8581-S

แก่งคันสูง จังหวัดอำนาจเจริญ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมริมฝั่งแม่น้ำโขง ของอำเภอชานุมาน มองจากบนตลิ่งมองเห็นสายน้ำโขงไหลผ่าน เกาะแก่งหินลดหลั่นกันไป พร้อมกับนำพาสายลมเย็นพัดผ่านมาด้วย  เหมาะสำหรับมาท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เล่นน้ำคลายร้อน นั่งชมกระแสน้ำเย็นไหลเอื่อย ผ่านแก่งหินกลางลำน้ำโขง เป็นที่อยู่อาศัยของปลาคัง ปลากด ปลานาง ปลาค้าว ปลากะทิง แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติสองฝั่งโขงยังคงสมบรูณ์อยู่มาก ที่สำคัญมีจุดเซ็คอินให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปกันด้วย

AMB_8584-S

AMB_8602-S

AMB_8593-S AMB_8586-S

        แก่งคันสูง ตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคันสูง ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ  เกิดจากลานหินกว้างกั้นขวางลำน้ำโขง ฝั่งตรงข้ามเป็นแขวงสุวรรณเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณแก่งคันสูงสามารถมองเห็นเกาะแก่งกลางน้ำได้ในเฉพาะช่วงหน้าแล้ง หากปีไหนประเทศจีนปล่อยน้ำมาน้อย จะสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงไปยังประเทศลาวได้เลย ในช่วงเช้ายังสามารถชมทิวทัศน์ยามพระอาทิตย์ขึ้น ที่มีความสวยงามอีกแห่งในอำเภอชานุมานได้อีกด้วย

CBT_5945-S

               วัดยักษ์คุธรรมานุสรณ์ ร่องรอยของเมืองชานุมาน

CBT_5943-S

CBT_5962-S

        วัดยักษ์คุธรรมานุสรณ์ หรือวัดยักษ์คุ ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลชานุมาน ตรงข้ามกับอำเภอชานุมาน เป็นวัดเล็กๆเงียบสงบ เริ่มตั้งเป็นสำนักสงฆ์ในปีพ.ศ. 2526 ต่อปีพ.ศ. 2539 ได้ขอขึ้นทะเบียนเป็นวัดพร้อมทั้ง ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นมาใหม่ไปในคราวเดียวกันด้วย ในปีพ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจัดตั้งเป็นวัด ส่วนชื่อวัดก็ตั้งชื่อตามชื่อบ้านยักษ์คุ แสดงว่าเรื่องราวร่องรอยของยักษ์คุนั้นมีมานานแล้ว ขนาดวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่ยังต้องตั้งชื่อตามไปด้วย

CBT_5986-S

CBT_5972-S

CBT_5977-S

          ภายในวัดมีพระอุโบสถตั้งอยู่กลางวัด เป็นพระอุโบสถขนาดเล็กที่นิยมสร้างกันในภาคอีสาน ตัวพระอุโบสถจำลองแบบมาจาก วัดสักกะวันที่จังหวัดกาฬสินธ์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำเริดลงรักปิดทองปางมารวิชัย หน้าบันด้านหน้าของโบสถ ปั้นปูนรูปเจ้าชายสิทธัตถะ ขี่ม้ากัณฐกะ ออกจากเมืองเพื่อออกบวช โดยมีนายฉันนะเตรียมม้าไว้ให้ ส่วนหน้าบันด้านหลังของโบสถ ปั้นปูนรูปพระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แด่ปัญจวคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนฤคทายวัน

CBT_5953-S

CBT_5944-S

CBT_5949-S

         ทางฝั่งขวามือของพระอุโบสถมีพระธาตุพระพนมจำลองตั้งอยู่ ให้ท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่อำเภอชานุมาน มากราบขอพรองค์พระธาตุพนมจำลองได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงจังหวัดนครพนม ส่วนทางด้านหลังองค์พระธาตุพระพนมจำลอง ก็มีพระพุทธยันตีองค์ใหญ่สีทองประดิษฐานอยู่ ให้ท่องเที่ยวมากราบขอพรได้อีกองค์หนึ่ง

หน้ายักษ์-S

           เพนท์หน้ายักษ์ร่วมประเพณีแห่ยักษ์คุ

AMB_8399-S

AMB_8410-S

AMB_8414-S

AMB_8422-S

AMB_8448-S

AMB_8460-S

          ประเพณีแห่ยักษ์คุ เป็นประเพณีที่เป็นที่มาของชื่ออำเภอชานุมาน จัดขึ้น ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน เป็นประจำทุกปีต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 6 ในปีพ.ศ. 2561 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวริมฝั่งโขงของอำเภอชานุมาน ส่งเสริมการค้าด้านชายแดน จุดผ่อนปรนการค้าบ้านยักษ์คุ และประชาสัมพันธ์จังหวัดอำนาจเจริญ ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้รู้จักเพิ่มมากขึ้น เริ่มจากขนวบแห่ยักษ์คุ ที่ส่งเข้าประกวดจากความคิดสร้างสรรค์ ต่อด้วยรำภูไทจาก 5 ตำบล ในอำเภอชานุมาน นักท่องเที่ยวจะเพนท์หน้ายักษ์ แต่งกายเป็นยักษ์ เข้าร่วมงานกันทุกคน สร้างสีสันความสนุกสนานให้กับงานได้เป็นอย่างดี

AMB_8428-S

AMB_8561-S

AMB_8566-S

AMB_8537-S

AMB_8525-S

AMB_8483-S

            กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอชานุมาน การประกวดผลผลิตทางการเกษตรของดีอำเภอชานุมาน การประกวดธิดาชานุมาน การแสดงบนเวทีการแข่งขันเส็งกลอง และการจัดตลาดนัดการค้าชายแดน โดยจัดคาราวานจำหน่ายสินค้า OTOP จากทั่วทุกภาค รวมทั้งกิจกรรมล่องเรือชมเกาะแก่งหินในแม่น้ำโขง การแข่งขันตกปลานานาชาติ

AMB_8721-S

          เยี่ยมเยือนหมู่บ้านภูไท ภูคำเดือย 

AMB_9044-S

         ชาวภูไท หรือชาวผู้ไทย ตามที่ราชบัณฑิตสถานบัญญติไว้ แบ่งเป็นภูไทดำ 8 ชนเผ่า จะแต่งกายด้วยผ้าสีดำ และสีคราม คาดผ้าเบียงไหล่สีแดงภูไทขาว 4 ชนเผ่า แต่งกายด้วยผ้าสีคราม และผ้าสีขาว คาดผ้าเบี่ยงไหล่สีขาว รวม 12 ชนเผ่า เป็นที่มาของชื่อที่อยู่ดั่งเดิมคือแคว้นสิบสองจุไท และแคว้นสิบสองปันนา ทางตอนใต้ของจีน มีภาษาภูไทใช้สื่อสารกันในชนเผ่า ส่วนใหญ่ทำนาปลูกข้าว ท่อผ้า และทำเครื่องประดับที่ทำจากเงินใช้เองภายในหมู่บ้าน หรือก็แบ่งเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว

AMB_9233-S

AMB_9312-S

AMB_9352-S

AMB_9405-S

        หมู่บ้านภูไท ภูคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นหมู่บ้านของชาวภูไทขาวที่อพยพมาจากเมืองตะโปน แขวงสุวรรณเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เริ่มจัดตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2398 ที่บ้าน “ลุมพุกหนองสิม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านคำเดือย” ตามชื่อของลำห้วยน้ำคำที่เต็มไปด้วยต้นลูกเดือย ภายในหมู่บ้านมีศูนย์วัฒนธรรมบ้านคำเดือย ไว้สำหรับจัดงาน “บุญประเพณี ไขประตูเล้า เว้าภูไท ไปเสอ” จัดขึ้นในเดือน 3 เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าชุมชน รวมถึง อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของชาวภูไท และสร้างความสามัคคีในชุมชน

AMB_9013-S

AMB_8814-S

AMB_8807-S

AMB_9429-S

AMB_9423-S

        นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนศูนย์วัฒนธรรมบ้านคำเดือย จะได้ชมการฟ้อนต้อนรับ ที่อ่อนช้อยสวยงาม ตามแบบวัฒนธรรมประเพณีของชาวภูไทขาว ใต้ถุนบ้านในหมู่บ้านภูไท จะมีกี่ท่อผ้าเกือบทุกบ้าน เมื่อว่างเว้นจากการทำนาปี ชาวภูไทก็จะนั่งทอผ้าเอาไว้ใช้นุ่งห่ม เส้นด้ายที่ใช้ถักท่อทำจากปุยฝ้ายที่ปลูกไว้ที่หลังบ้าน และริมไร่ปลายนา ได้ผ้าฝ้ายย้อมคราม ลวดลายเฉพาะแบบภูไท เศษผ้าที่เหลือนำมาทำกระเป๋าขายเป็นของที่ระลึก ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อได้

AMB_9414-S

          เที่ยวเมืองรอง @ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒธรรม วัดวาอารามต่างๆ ที่ผมยังไปไม่ถึง คราวหน้าถ้ามีโอกาสไปเที่ยวอีก จะนำกลับมาอัพเดทให้ชมเพิ่มเติมอีกครับ