THEWAYNEWS > Travel > In bound > “EP ปีนตาล ยำตาล แกงตาล ขนมตาล” หอมกลิ่นตาล เครื่องคาวหวาน เมืองเพชร (Delicious Destination @ Phetchaburi)

 “EP ปีนตาล ยำตาล แกงตาล ขนมตาล หอมกลิ่นตาล เครื่องคาวหวาน เมืองเพชร (Delicious Destination @ Phetchaburi)

          เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา

               องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. ร่วมกับ   สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) จัดโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่พิเศษของ อพท. เพื่อสร้างทางท่องเที่ยวเชิงอาหาร ให้เป็นทางเลือกกับนักท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน ลดช่องว่างการเหลื่อมล้ำทางสังคม และอนุรักษ์อาหารถิ่นให้คงอยู่คู่ไทย  โดยเริ่มต้นที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดแรก ในกิจกรรม หอมกลิ่นตาล เครื่องคาวหวาน เมืองเพชร (Delicious Destination @ Phetchaburi) “EP ปีนตาล ยำตาล แกงตาล ขนมตาล

               ชิมยำหัวโหนด บ้านไร่กร่าง

        วันที่ 2 ออกจากโรงแรมที่พักกันแต่เช้า วันนี้เราจะไปชิมยำหัวโหนด กันที่วิสาหกิจชุมชนบ้านไร่กร่าง ยำหัวโหนดก็คือการนำเอาลูกตาลอ่อนมายำ ทำเป็นอาหารพื้นถิ่น คนในชุมชนยำกินกันเป็นประจำทุกบ้าน สวนผสมสำคัญมีดังนี้ ลูกตาลอ่อนหรือหัวโหนด หันเป็นชิ้นบ้างๆ พริกขี้หนูสวนซอย หอมแดง ตระไคร้ซอย ต้นหอม ผักชี ใบมะกูดซอย มะพร้าวคั่ว กระเทียมเจียว เกลือ น้ำปลา น้ำตาลทราย หัวกระทิสด ถั่วป่น กุ้งแห้ง

      วิธีทำใส่หัวโหนดลงไปก่อนตามด้วย หอมซอย ตระไคร้ซอย มะพร้าวคั่ว ใช้มือยำบีบกลิ่นหอมของตระไคร้หอมแดงเข้าไปในเนื้อของลูกตาลก่อน เสร็จแล้วตามด้วยหมูย่าง ถั่วป่น กระเทียมเจียว พริกขี้หนูสวน กระทิสด ยำให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาล ถั่วป่น ต้นหอม ผักชี ใบมะกูดซอย คลุกให้ทั่วตักใส่จาน  ชิมแล้วหวานนำตามด้วยเปรี้ยวมีเค็มนิดหน่อย รสชาติดั่งเดิมของยำหัวโหนด อาหารพื้นถิ่นชุมชนบ้านไร่กร้าง 

      นอกจากจะได้ชิมยำหัวโหนดแล้วเรายังได้พบกับ ยายเชื้อ หญิงแกร่งยอดนักปีนตาล ของชุมชนบ้านไร่กร่างอีกด้วย ยายเชื้อ แก่ปีนตาลมาตั้งแต่สาวๆจนถึงอายุย่างเข้า 80 ปี ก็แขวนไม้พระองค์ เลิกปีนยอดตาลไปทั้งทีใจยังอยากปีนต่อ แต่สภาพร่างกายมันไม่ไหว จึงหยุดไว้เพียงแค่นี้ หันมาเป็นคนถ่ายทอดประสบการณ์ เล่าความหลังการปีนตาล ให้นักท่องเที่ยวได้ฟังน่าจะดีกว่า

             ดื่มน้ำตาลสด ปีนตาล สวนตาลลุงถนอม

       สถานีต่อไปเราจะไป ดื่มน้ำตาลสด ปีนต้นตาล ที่สวนตาลลุงถนอมกันครับ  สวนตาลลุงถนอมมีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เป็นสวนตาลที่ปลูกขึ้น 400 กว่าต้น โดยฝีมือมนุษย์ นับเป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของลุงถนอน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เพื่อแก้ปัญหาพืชผลทางการเกษตรเสียหายเป็นประจำทุกปี ในช่วงน้ำหลาก และยังเป็นการอนุรักษ์ใหัต้นตาลเป็น อัตลักษณ์ของคนเพชรอยู่เมืองเพชรบุรีต่อไป

       สวนตาลลุงถนอมเปิดเป็น “ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาตาลโตนด” นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชม จะได้ชิมน้ำตาลสดจากต้น ฟังข้อมูลประวัติความเป็นมาของสวนตาล การปลูกทดแทน ตลอดจนการดูแลรักษาต้นตาล จากลุงถนอมเป็นวิทยากรบรรยายด้วยตัวเอง วันนี้เป็นหน้าที่ของพี่อำนาจ ลูกชายลุงถนอนม ที่รับไม้ต่อมาขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง (บริหารงานอยู่บนยอดตาลทุกวัน) เป็นวิทยากรบรรยายแทน และจะสาธิตวิธีการขึ้นตาล เก็บน้ำตาลสด ให้พวกเราได้ชมกัน

          หรือใครอยากลองปีนต้นตาลดูบ้างก็เชิญตาลสะดวก พี่อำนาจจะคอยดูแลอย่างใกล้ชนิด ผลผลิตจากการขึ้นตาลในแต่ละวัน นำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง ทำลูกตาลสด น้ำตาลสด เคี่ยวน้ำตาลสดให้เป็นน้ำตาลโตนด ให้นักท่องเที่ยวซื้อกลับบ้าน

                ชิมขนมตาล ชุมชนบ้านถ้ำรงค์

      ดูการปีนตาลเอาลูกตาลสุก แล้วเราก็มาชิมขนมตาลกันที่ร้านครัวตาลโตนด ชุมชนบ้านถ้ำรงค์ ก่อนที่จะชิมขนมตาลเราก็ต้องลงมือทำกันก่อน เริ่มต้นด้วยการนำเอาลูกตาลสุก มาปลอกเปลือกออกแล้วขยำเนื้อตาลจนเป็นน้ำ กรองเอาแต่เนื้อตาลสีเหลืองไม่ให้มีสิ่งเจือปน ใส่น้ำโตนดลงไปตามสูตรเฉพาะของชุมชน แล้วนำไปหยอดใส่ถ้วยกระทงใบตอง โรยด้วยมะพร้าวขูด นำไปนึ่งได้ขนมตาลสีเหลืองอ่อนร้อนๆจากเตา ขนมตาลสีเหลืองอ่อน หอมกลิ่นตาล เนื้อตาลล้วนๆฟูล้นกระทงใบตอง รสหวานน้อยนุ่มอร่อย

               แกงหัวโหนด มื้อกลางวัน

      ทำขนมตาลเสร็จก็ได้เวลาอาหารเที่ยง เราก็ทานกันที่นี่เลย ร้านครัวตาลโตนด มีแกงหัวโหนดเป็นเมนูเด็ดของชุมชน   แกงหัวโหนดก็คือแกงคั่วหมูใส่ลูกตาลอ่อนนั้นแหละ ลูกตาลอ่อนที่ใช้ก็เหมือนกับลูกตาลอ่อนที่นำมาทำยหัวโหนดำที่บ้านไร่กร่าง แกงหัวโหนดร้อนๆหอมพริกแกง รสหวานน้ำตาลโตนดตามด้วยความมันของกะทิ อมเปรี้ยวจากน้ำมะขามเปียก ตัดด้วยเค็มนิดหน่อย ทานกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยจนลืมอิ่ม เมนูประกอบก็มี น้ำพริกกะปิ ชะอมชุบไข่ทอด ยำผักกูด ไข่เจียวฟู ก็ยิ่งเพิ่มความอร่อยเข้าไปอีก จนต้องขอข้าวเพิ่มเป็นจานที่สอง 

                เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

      ตั้งอยู่ที่บริเวณเขาเจ้าและเขาไม้รวกประชิดกัน ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย กั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวกประชิดกัน เป็นเขื่อนดินสูง 58 เมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร นอกจากนี้ยังมีเขื่อนดินปิดเขาต่ำทางขวางเขื่อนอีก 2 แห่ง คือแห่งแรกสูง 36 เมตร สันเขื่อนยาว 305 เมตร แห่งที่ 2 สูง 24 เมตร สันเขื่อนยาว 255 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 46.5 ตารางกิโลเมตร ความจุ 710 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2504 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509

         เขื่อนแก่งกระจานสร้างขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำไว้สำหรับผลิตไฟฟ้า แล้วยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง ป้องน้ำท่วมเมืองเพชรบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยว และที่สำคัญยังเป็นแหล่งน้ำให้กับชุมชนที่อยู่รอบเขื่อน ได้อาศัยแหล่งน้ำทำการเกษตร ทำการประมงเลี้ยงปลา ได้ปลาเขื่อนมาปรุงเป็นเมนูของคนในท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวนอกจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ล่องเรือชมธรรมชาติเหนือเขื่อน หากพักค้างคืนก็มีรีสอร์ท โฮมสเตย์ ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกพักค้างคืน ชมพระอาทิตย์ยามเย็น หรือสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้า ก็สวยงามทุกช่วงเวลา

        กลับออกมาจากบ้านไร่กร้าง แวะชมวิวบนสันเขื่อนแก่งกระจาน ถ่ายรูปเช็คอิน ยืนอยู่บนสันเขื่อนอากาศเย็นสบาย ลมพัดโรยโชยอ่อน ผืนน้ำราบเรียบ เมฆเหนือเขื่อนทะมึนเทา อยู่เหนือทิวเขาสีเขียวไล่โทนแก่อ่อน เย็นบบรรยากาศสวยงาม แม้ยามปลายฝนต้นหนาว “EP ปีนตาล ยำตาล แกงตาล ขนมตาล หอมกลิ่นตาล เครื่องคาวหวาน เมืองเพชร (Delicious Destination @ Phetchaburi) ขอลาไปด้วยบรรยากาศบนสันเขื่อนแก่งกระจานนี้เลยแล้วกัน อย่าลืมติดตาม EP ต่อไปนะครับ