THEWAYNEWS > Activity > Sanook!, JOOX, VOOV ชวนคุณร่วมบริจาคโลหิตเนื่องในวันกาชาดสากล

SanookRedcross_2

ชวนคนไทยรวมพลังทำความดี ร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิตเนื่องในวันกาชาดสากล ใน วันเสาร์ที่ 6 พ.ค. 2560 เวลา 11.00 – 15.00 น. ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถ.อังรีดูนังต์

เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิต และเตรียมความพร้อมโลหิตสำรองคงคลังไว้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมบริจาคโลหิตเพื่อรับของที่ระลึก “The Gorilla Gel” จากคุณน็อต-วรฤทธิ์ แล้วไปพบกัน ได้ที่นี่ค่ะ
ในงานเดียวกันนี้ JOOX มิวสิคแอปพลิเคชั่น ยังได้พาทีมวีเจ JOX ผู้ดำเนินรายการจาก JOOX LIVE ไปร่วมกิจกรรมและสร้างสีสันให้ผู้ร่วมงาน นำโดยอั๊ต-อัษฎา พานิชกุล, คารีสา สปริงเก็ตต์, มิชา-สุมิตรา ลาซอฟ, เมี่ยง-ภัคพล ศรีรองเมือง และ จูเนียร์-กรวิชญ์ สูงกิจบูลย์ พร้อมพบกับเหล่า VOOVster ที่มีไลฟ์สไตล์โดดเด่นจาก VOOV แอปพลิเคชั่นไลฟ์สตรีมมิ่ง ที่จะมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการให้ครั้งสำคัญและปลุกพลังความดีไปด้วยกัน

นอกจากนี้ เว็บไซต์สนุกดอทคอม (www.sanook.com) ขอต้อนรับวันกาชาดสากลด้วยการจัดทำ Quiz ทำนายนิสัยจากกรุ๊ปเลือดสุดแม่น ที่จะมาบอกว่าชาวกรุ๊ปเลือด A, B, O และ AB มีนิสัยแบบไหน มาร่วมลุ้นและทายใจไปพร้อมๆ กันได้แล้ววันนี้ทาง

วันกาชาดสากล 8 พฤษภาคม ของทุกปี

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศกำหนดให้ 8 พฤษภาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ อังรี ดูนังต์ เป็น วันกาชาดสากล

เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 การรบระหว่างกองกำลังร่วมของฝรั่งเศสอิตาลีกับกองกำลังของออสเตรีย บริเวณใกล้หมู่บ้านซอลเฟริโน ตอนเหนือของอิตาลี ทหารบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก เพราะขาดแพทย์พยาบาล

ฌอง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นักธุรกิจการธนาคารชาวสวิส สลดใจกับเหตุการณ์ที่พบ จึงรวบรวมแพทย์ชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียนเข้าช่วยเหลือ โดยไม่เลือกฝ่าย

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ พร้อมที่จะบริจาคโลหิต

2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่มีอายุ 17 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี

2.1 การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตอายุ > 60-70 ปี

2.1.1  ผู้บริจาคโลหิตอายุ >60-65ปี

  • เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำมาโดยตลอดจนกระทั่งอายุ 60 ปี
  • บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้งคือทุก 4 เดือน
  • ตรวจ Complete Blood Count ( CBC ) ทุกครั้งก่อนบริจาคโลหิต
  • ตรวจ Serum Ferritin ( SF ) , Blood Chemistry ( BC ) ปีละ 1 ครั้ง
  • แพทย์หรือพยาบาลพิจารณาและบันทึกผล SF และค่า Hb และ Hematocrit และค่าที่ผิดปกติของการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ถ้าผลเลือดและความดันโลหิตปกติ อนุญาตให้บริจาคโลหิตได้

2.1.2 ผู้บริจาคโลหิตอายุ > 65-70ปี

  • เป็นผู้บริจาคโลหิตต่อเนื่องสม่ำเสมอในช่วงอายุ > 60-65 ปี
  • บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง คือทุก 6 เดือน
  • ตรวจ CBC ทุกครั้งก่อนบริจาคโลหิต
  • ตรวจ BC, SF, และ EKGปีละ 1 ครั้ง
  • มีใบรับรองแพทย์ ออกโดยแพทย์ประจำตัว หรือแพทย์ของศูนย์บริการโลหิตฯ

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต

4. ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา หรือกำลังเป็นไข้หวัด

5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6เดือนที่ผ่านมา

6. น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ

7. หากรับประทานยาแอสไพริน, ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน

8. ไม่เป็นโรคหอบหืด, ผิวหนังเรื้อรัง, วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่นๆ

9. ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจ, ตับ, ไต, มะเร็ง, ไทรอยด์,โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่นๆ

10. หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนหรือรักษารากฟัน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน

11. หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน, ผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน 1 เดือน

12.ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือเบี่ยงเบนทางเพศ

13. ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ ต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี

14. หากเจาะหู, สัก, ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษา ต้องเกิน 1 ปี

15. หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่น ต้องเกิน 1 ปี

16. หากมีประวัติเป็นมาเลเรีย ถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้

17. ต้องไม่ได้รับวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือเซรุ่มในระยะ 1 ปี ที่ผ่านมา

18. ก่อนบริจาคโลหิตต้องรับประทานอาหารให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่างๆ

 

การเตรียมตัวก่อน-หลัง

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในเวลานอนปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
  • สุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ
  • รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่างๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ  เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
  • ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณ โลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ขณะบริจาคโลหิต

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
  • เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
  • ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
  • ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
  • ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการ ผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
  • หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อยนอนพักบนเตียงสักครู่ ห้ามลุกจากเตียงทันที อาจทำให้เวียนศีษะเป็นลมได้ ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง

หลังบริจาคโลหิต

  • ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
  • หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
  • ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
  • ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
  • ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
  • รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และรับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก